สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม
(จีเอ็มโอ)
(Genetically Modified Organism-GMO)
การดัดแปลงพันธุกรรม (genetic modification) คือกระบวนการที่ทำให้ได้พืช สัตว์ จุลินทรีย์ หรือสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified organism) หรือเรียกย่อเป็น GMO หรือจีเอ็มโอ
GMO อาจย้อนไปถึงในช่วงต้นของทศวรรษ 1800s ได้มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพที่เรียกว่า r-DNAเทคโนโลยีหรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) มาใช้ในการพัฒนาสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆกัน ทั้งในการปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ จุลินทรีย์ การผลิตยารักษาโรคและเภสัชภัณฑ์ ฯลฯ ในช่วงนั้นสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ที่นำมาใช้จะเป็นจุลินทรีย์(microorganism) ดังนั้นจุลินทรีย์ที่ได้มีการถูกดัดแปลงโดยวิธีการทางพันธุวิศวกรรม มีการเรียกว่าเป็น genetically engineered microorganism หรือ GEM ซึ่งอาจเรียกในภาษาไทยเป็น “จุลินทรีย์ที่ถูกดัดแปลงทางพันธุกรรม” แต่การดัดแปลงทางพันธุกรรม (genetic modification) ได้ครอบคลุมไปถึงพืช สัตว์ ด้วย ดังนั้นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอาจเป็น “พืชดัดแปลงพันธุกรรม” (genetically modified plant หรือ transgenic plant) หรือ “สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม” (genetic modified animal หรือ transgenic animal) หรือถ้าเป็นสิ่งมีชีวิต (organism) ทั้งพืชและสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้สามารถเรียกรวมๆกันเป็น “สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม” (genetically modified organism) หรือ GMO
GMO หรือ GMOs – Genetically Modified Organisms คือ สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมเป็นผลผลิตจากการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม หรือ เทคนิคการตัดต่อยีน ในพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงตามที่ต้องการ เช่น ต้านทานแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมหรือเพิ่มสารโภชนาการบางชนิด เช่น วิตามิน จีเอ็มโอ ไม่ใช่สารปนเปื้อนและไม่ใช่สารเคมี แต่จีเอ็มโอคือสิ่งมีชีวิตที่เป็นผลพวงของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของนักวิทยาศาสตร์ที่จะปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณสมบัติที่ดีตามที่ต้องการ เช่น
จุลินทรีย์ GMO นั้นใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา และมีจุลินทรีย์ GMO ที่มีคุณสมบัติ พิเศษใน การกำจัดคราบน้ำมันได้ดี
สัตว์
GMO
สัตว์ตัดแต่งพันธุกรรมถูกใช้เป็นแบบทดลองในการทดสอบฟีโนไทป์กับ
ยีนซึ่งไม่ทราบหน้าที่การทำงานหรือเพื่อสร้างสัตว์ที่สามารถรองรับสารประกอบ
หรือความเครียดได้ในระดับหนึ่งเพื่อใช้สำหรับทดลองในการวิจัยเครื่องสำอางและการแพทย์เชิงชีวภาพ
ส่วนการนำไปใช้อื่นๆ รวมไปถึงการผลิตฮอร์โมนของมนุษย์เช่น
อินซูลิน เป็นต้น
สัตว์ที่ถูกใช้เป็นแบบพันธุกรรมในการวิจัยทางพันธุศาสตร์มักจะเป็นแมลงวันผลไม้ที่
ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรม
ซึ่งพวกมันถูกใช้เพื่อการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่อยู่
ในการพัฒนา
สาเหตุที่แมลงวันถูกใช้ในการทดลองมากกว่าสัตว์อื่นก็เนื่องมาจากเหตุผลทาง จริยธรรม,
สามารถเพาะพันธุ์ได้ง่าย
ทั้งยังเป็นเพราะว่าจีโนมของแมลงวันนั้นค่อนข้างที่จะเรียบง่ายกว่าสัตว์ที่
มีกระดูกสันหลัง
ผลกระทบของดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ)
ในโลกธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการจนได้ลักษณะเฉพาะที่ต้องการ
กระบวนการนี้มักจะเป็นไปอย่างเชื่องช้า และมีกฎธรรมชาติเป็นตัวผลักดัน มิใช่มนุษย์
โดยปกติสิ่งมีชีวิตจะใช้เวลาหลายร้อยหลายพันปี ในการคัดเลือกและปรับตัว
กว่าจะพัฒนาจนได้สีที่กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม เพื่อพรางตัวเองจากผู้ล่า
และในโลกธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตไม่มีทางผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
แต่ปัจจุบันนี้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมได้ทลายกำแพงธรรมชาติที่กั้นระหว่างสายพันธุ์
ปัจจุบันสิ่งมีชีวิตต่างๆสามารถนำมาดัดแปลงพันธุกรรม
เพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน
โดยมีลักษณะเฉพาะ
ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นที่ต้องการของมนุษย์
ปัจจุบันการก้าวก่ายของมนุษย์ทำให้เกิดปลาที่มียีนของพืช
และพืชที่สามารถฉีดยีนของแบคทีเรียใส่เข้าไป
เทคโนโลยีนี้ทำให้เป็นไปได้ที่จะสร้างสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆ ได้อย่างไม่สิ้นสุด
และเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ และน่าสะพรึงกลัวอีกด้วย เทคโนโลยีทุกชนิดเมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย
ในกรณีของ GMOs นั้นข้อเสียคือมีความเสี่ยงและความซับซ้อนในการบริหารจัดการเพื่อให้มีความปลอดภัยเพื่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ
แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ใดได้รับอันตรายจากการบริโภคอาหาร GMOs
แต่ความกังวลต่อความเสี่ยงของการใช้ GMOs เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
เช่น กรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้
ความเสี่ยงต่อผู้บริโภค
1. สารอาหารจาก
GMOs อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เช่น เคยมีข่าวว่า
กรดอะมิโน L-Tryptophan ของบริษัท Showa Denko ทำให้ผู้บริโภคในสหรัฐเกิดอาการป่วยและล้มตาย อย่างไรก็ตาม
กรณีที่เกิดขึ้นนี้แท้จริงแล้วเป็น ผลมาจากความบกพร่องในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ (quality
control) ทำให้มีสิ่งปนเปื้อนหลงเหลืออยู่ หลังจาก
กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ มิใช่ตัว GMOs ที่เป็นอันตราย
2. ความกังวลในเรื่องของการเป็นพาหะของสารพิษ
เช่น ความกังวลที่ว่า DNA จากไวรัสที่ใช้ในการทำ GMOs
อาจเป็นอันตราย เช่น การทดลองของ Dr.Pusztai ที่ทดลองให้หนูกินมันฝรั่งดิบที่มี
lectin และพบว่าหนูมีภูมิคุ้ม กันลดลง
และมีอาการบวมผิดปกติของลำไส้ ซึ่งงานชิ้นนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสูง
โดยนักวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการออกแบบการทดลองและวิธีการทดลองบกพร่อง
ไม่ได้มาตรฐานตามหลักการวิทยา ศาสตร์
ในขณะนี้เชื่อว่ากำลังมีความพยายามที่จะดำเนินการทดลองที่รัดกุมมากขึ้น
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ มากขึ้น
และจะสามารถสรุปได้ว่าผลที่ปรากฏมาจากการตบแต่งทางพันธุกรรมหรืออาจเป็น
เพราะเหตุผลอื่น
3. สารอาหารจาก
GMOs อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติในธรรมชาติ เช่น
รายงานที่ว่าถั่วเหลืองที่ ตัดแต่งพันธุกรรมมี isoflavone มากกว่าถั่วเหลืองธรรมดาเล็กน้อย
ซึ่งสารชนิดนี้เป็นกลุ่มของสารที่เป็น phytoestrogen (ฮอร์โมนพืช)
ทำให้มีความกังวลว่า การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน estrogen อาจทำให้เป็นอันตรายต่อ
ผู้บริโภคหรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กทารก
จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบของการเพิ่มปริมาณของสาร isoflavine ต่อกลุ่มผู้บริโภคด้วย
4. ความกังวลต่อการเกิดสารภูมิแพ้
(allergen) ซึ่งอาจได้มาจากแหล่งเดิมของยีนที่นำมาใช้ทำ GMOs
นั้น ตัวอย่าง ที่เคยมีเช่น การใช้ยีนจากถั่ว Brazil nut มาทำ GMOs เพื่อเพิ่มคุณค่าโปรตีนในถั่วเหลืองสำหรับเป็นอาหารสัตว์
จากการศึกษาที่มีขึ้นก่อนที่จะมีการผลิตออกจำหน่าย
พบว่าถั่วเหลืองชนิดนี้อาจทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดอาการแพ้
เนื่องจากได้รับโปรตีนที่เป็นสารภูมิแพ้จากถั่ว Brazil nut บริษัทจึงได้ระงับการพัฒนา
GMOs ชนิดนี้ไป อย่างไร ก็ตามพืช GMOs อื่นๆ
ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในโลกในขณะนี้ เช่น ถั่วเหลืองและข้าวโพดนั้น
ได้รับการประเมิน แล้วว่า อัตราความเสี่ยงไม่แตกต่างจากถั่วเหลืองและข้าวโพดที่ปลูกอยู่ทั่วไปใน
ปัจจุบัน
5. การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่?
ในบางกรณี วัว หมู รวมทั้งสัตว์ชนิดอื่นที่ได้รับ recombinant
growth hormone อาจมีคุณภาพที่แตกต่างไปจากธรรมชาติ
และ/หรือมีสารตกค้างหรือไม่ ขณะนี้ยัง ไม่มีข้อยืนยันชัดเจนในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม สัตว์มีระบบสรีระวิทยาที่ซับซ้อนมากกว่าพืช และเชื้อจุลินทรีย์
ทำให้การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ อาจทำให้เกิดผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่คาดคิดได้
โดยอาจทำให้สัตว์มีลักษณะและ คุณสมบัติเปลี่ยนไป และมีผลทำให้เกิดสารพิษอื่นๆ ที่เป็นสารตกค้างที่ไม่ปรารถนาขึ้นได้
การตบแต่งพันธุกรรม ในสัตว์ที่เป็นอาหารโดยตรง
จึงควรต้องมีการพิจารณาขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยที่ครอบคลุมมากกว่า
เชื้อจุลินทรีย์และพืช
6. ความกังวลเกี่ยวกับการดื้อยา
กล่าวคือเนื่องจากใน marker gene มักจะใช้ยีนที่สร้างสารต่อต้านปฏิชีวนะ
(antibiotic resistance) ดังนั้นจึงมีผู้กังวลว่าพืชใหม่ที่ได้อาจมีสารต้านปฏิชีวนะอยู่ด้วย
ทำให้มีคำถามว่า
6.1 ถ้าผู้บริโภคอยู่ในระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่
อาจจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลหรือไม่ เนื่องจากมีสารต้าน ทานยาปฏิชีวนะอยู่ในร่างกาย
ซึ่งเป็นปัญหาที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย และสามารถแก้ไข
หรือหลีกเลี่ยงได้
6.2 ถ้าเชื้อแบคทีเรียที่ตามปกติมีอยู่ในร่างกายคน
ได้รับ marker gene ดังกล่าวเข้าไปโดยผนวก (integrate)
เข้าอยู่ในโครโมโซมของมันเอง
ก็จะทำให้เกิดแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ที่ดื้อยาปฏิชีวนะได้ ข้อนี้มีโอกาสเป็นไปได้
น้อยมากแต่เมื่อมีความกังวลเกิดขึ้น
ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นวิธีใหม่ที่ไม่ต้องใช้ selectable marker ที่เป็นสาร ต่อต้านปฏิชีวนะ
หรือบางกรณีก็สามารถนำยีนส่วนที่สร้างสารต่อต้านปฏิชีวนะออกไปได้ก่อนที่จะ
เข้าสู่ห่วงโซ่ อาหาร
7. ความกังวลเกี่ยวกับการที่ยีน
35S promoter และ NOS terminator ที่อยู่ในเซลล์ของ
GMOs จะหลุดรอดจากการ ย่อยภายในกระเพาะอาหารและลำไส้
เข้าสู่เซลล์ปกติของคนที่รับประทานเข้าไป แล้วเกิด active ขึ้นทำให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงของยีนในมนุษย์ ซึ่งข้อนี้จากผลการทดลองที่ผ่านมายืนยันได้ว่า
ไม่น่ากังวลเนื่องจากมีโอกาส เป็นไปได้น้อยที่สุด
8. อย่างไรก็ตาม
อาจจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังบ้างในบางกรณี เช่น
เด็กอ่อนที่มีระบบทางเดินอาหารที่สั้นกว่า ผู้ใหญ่ทำให้การย่อยอาหารโดยเฉพาะ DNA
ในอาหาร เป็นไปโดยไม่สมบูรณ์เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ ในข้อนี้แม้ว่า
จะมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตรายค่อนข้างต่ำ แต่ก็ควรมีการวิจัยโดยละเอียดต่อไป
9. มีความกังวลว่า
สารพิษบางชนิดที่ใช้ปราบแมลงศัตรูพืช เช่น Bt toxin ที่มีอยู่ใน
GMOs บางชนิดอาจมีผล กระทบต่อแมลงที่มีประโยชน์ชนิดอื่นๆ
เช่น ผลการทดลองของ Losey แห่งมหาวิทยาลัย Cornell ที่กล่าวถึงการ ศึกษาผลกระทบของสารฆ่าแมลงของเชื้อ Bacillus
thuringiensis (บีที) ในข้าวโพดตบแต่งพันธุกรรมที่มีต่อผีเสื้อ Monarch
ซึ่งการทดลองเหล่านี้ทำในห้องทดลองภายใต้สภาพเงื่อนไขที่บีบเค้น
และได้ให้ผลในขั้นต้นเท่านั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทดลองภาคสนามเพื่อให้ทราบผลที่มีนัยสำคัญ
ก่อนที่จะมีการสรุปผลและนำไปขยายความ
10. ความกังวลต่อการถ่ายเทยีนออกสู่สิ่งแวดล้อม
ทำให้เกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพเนื่องจาก
มีสายพันธุ์ใหม่ที่เหนือกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ หรือลักษณะสำคัญบางอย่างถูกถ่ายทอดไปยังสายพันธุ์
ที่ไม่พึงประสงค์ หรือแม้กระทั่งการทำให้เกิดการดื้อต่อยาปราบวัชพืช เช่น
ที่กล่าวกันว่าทำให้เกิด super bug หรือ super weed เป็นต้น ในขณะนี้มีการวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับการถ่ายเทของยีน
แต่ยังไม่มีข้อยืนยันในเรื่องนี้
ความกังวลในด้านเศรษฐกิจ-สังคม
11. ความกังวลอื่นๆ
นั้นมักเป็นเรื่องนอกเหนือวิทยาศาสตร์ เช่น
ในเรื่องการครอบงำโดยบรรษัทข้ามชาติที่มีสิทธิ บัตร
ถือครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ GMOs ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงทาง
อาหาร ตลอดจนปัญหาความสามารถในการพึ่งตนเองของประเทศในอนาคต
ที่มักถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงโดย NGOs และปัญหาในเรื่องการกีดกันสินค้า
GMOs ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาของ
ประเทศไทยอยู่ในปัจจุบัน
นเรศ ดำรงชัย ได้กล่าวเอาไว้ว่า “แม้ว่าจะมีความกังวลอยู่
แต่ควรทราบว่า GMOs เป็นผลิตผลจากเทคโนโลยีที่ได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดอย่างหนึ่ง
เท่าที่มนุษย์เคยคิดค้นมาในประเทศไทยมีแนวปฏิบัติในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับนักวิจัยทุกขั้นตอนทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและในการทดลองภาคสนามเพื่อให้การวิจัยและพัฒนา
GMOs มีความปลอดภัยสูงสุดและเป็นพื้นฐานในการประเมินความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมซึ่งการประเมินความเสี่ยงนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องในแต่ละสภาพแวดล้อม
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่รอบด้าน และรัดกุมที่สุด
อย่างไรก็ดีกรณี GMOs เป็นโอกาสที่ดีในการที่ประชาชนในชาติได้มีความตื่นตัวและเร่งสร้างวุฒิภาวะโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีชีวภาพ
ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากการตัดสินใจใดๆของสังคมควรเป็นไปโดยอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในวิทยาศาสตร์และโดยขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์
นั่นคือการให้ความสำคัญกับที่มาของข้อมูลและการตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล
มิใช่เป็นไปโดยความตื่นกลัว หรือการตามกระแส”
ประโยชน์ของ GMO
ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ GMO นั้นมีความหลากหลายอย่างมาก
ซึ่งรวมไปถึงสัตว์ทีได้รับการตัดแต่งพันธุกรรมโดยวิธีรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอเช่น หนู, ปลา พืชตัดแต่งพันธุกรรม หรือจุลินทรีย์หลายชนิดเช่นแบคทีเรีย และเชื้อรา สาเหตุของการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ GMO นั้นมีหลายประการด้วยกัน
โดยมีประการสำคัญคือการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในการวิจัยเพื่อตอบคำถามเชิง
พิ้นฐานหรือเชิงประยุกต์ของชีววิทยาและวิชาแพทยศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่การผลิตเอนไซม์ทางเภสัชกรรมและอุตสาหกรรม และการนำไปใช้โดยตรง (ซึ่งมักตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์)
เพื่อการพัฒนาสุขภาพของมนุษย์ (เช่น การบำบัดยีน) หรือผลผลิตทางเกษตรกรรม (เช่น ข้าวสีทอง)
นิยามของคำว่า "สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม"
ไม่จำเป็นที่จะต้องรวมไปถึงการบรรจุยีนเป้าหมายจากสายพันธุ์หนึ่งไปยังอีก
สายพันธุ์หนึ่งเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ยีนจากแมงกะพรุน ประกอบไปด้วยโปรตีนเรืองแสงเรียกว่า GFP (Green Fluorescent Protein) ซึ่งสามารถนำไปเชื่อมต่อกับยีนอื่นโดยตรงได้และทำให้ยีนนี้สามารถแสดงลักษณะ
ร่วมกันกับยีนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพื่อ
ระบุถึงตำแหน่งของโปรตีนที่ถูกสร้างขึ้นโดยยีนที่มี GFP เชื่อมอยู่ในเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
วิธีการเหล่านี้รวมถึงวิธ๊การอื่นๆ ล้วนเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์
และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักชีววิทยาในหลายๆ สาขาการวิจัย
รวมไปถึงผู้ที่ศึกษากลไกของมนุษย์และโรคอื่นๆ
หรือกระบวนการพื้นฐานเชิงชีววิทยาในเซลล์ยูคาริโอตและโพรคาริโอต
เพิ่มเติ่มเกี่ยวกับ GMOs
4.
http://atcloud.com/stories/76244 5.
http://digital.lib.kmutt.ac.th/magazine/issue4/articles/article2.html
การดัดแปลงพันธุกรรม
การดัดแปลงพันธุกรรม (genetic modification) คือกระบวนการที่ทำให้ได้พืช สัตว์ จุลินทรีย์ หรือสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified organism) หรือเรียกย่อเป็น GMO หรือจีเอ็มโอ
GMO อาจย้อนไปถึงในช่วงต้นของทศวรรษ 1800s ได้มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพที่เรียกว่า r-DNAเทคโนโลยีหรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) มาใช้ในการพัฒนาสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆกัน ทั้งในการปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ จุลินทรีย์ การผลิตยารักษาโรคและเภสัชภัณฑ์ ฯลฯ ในช่วงนั้นสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ที่นำมาใช้จะเป็นจุลินทรีย์(microorganism) ดังนั้นจุลินทรีย์ที่ได้มีการถูกดัดแปลงโดยวิธีการทางพันธุวิศวกรรม มีการเรียกว่าเป็น genetically engineered microorganism หรือ GEM ซึ่งอาจเรียกในภาษาไทยเป็น “จุลินทรีย์ที่ถูกดัดแปลงทางพันธุกรรม” แต่การดัดแปลงทางพันธุกรรม (genetic modification) ได้ครอบคลุมไปถึงพืช สัตว์ ด้วย ดังนั้นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอาจเป็น “พืชดัดแปลงพันธุกรรม” (genetically modified plant หรือ transgenic plant) หรือ “สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม” (genetic modified animal หรือ transgenic animal) หรือถ้าเป็นสิ่งมีชีวิต (organism) ทั้งพืชและสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้สามารถเรียกรวมๆกันเป็น “สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม” (genetically modified organism) หรือ GMO
GMO หรือ GMOs – Genetically Modified Organisms คือ สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมเป็นผลผลิตจากการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม หรือ เทคนิคการตัดต่อยีน ในพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงตามที่ต้องการ เช่น ต้านทานแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมหรือเพิ่มสารโภชนาการบางชนิด เช่น วิตามิน จีเอ็มโอ ไม่ใช่สารปนเปื้อนและไม่ใช่สารเคมี แต่จีเอ็มโอคือสิ่งมีชีวิตที่เป็นผลพวงของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของนักวิทยาศาสตร์ที่จะปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณสมบัติที่ดีตามที่ต้องการ เช่น
จุลินทรีย์ GMO นั้นใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา และมีจุลินทรีย์ GMO ที่มีคุณสมบัติ พิเศษใน การกำจัดคราบน้ำมันได้ดี
พืช GMO พืชตัดแต่งพันธุกรรมถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในหลายๆ
วัตถุประสงค์ ได้แก่ความต้านทานต่อแมลง, ยากำจัดวัชพืชและสภาพสิ่งแวดล้อมที่เลวร้าย
เพื่อเพิ่มระยะเวลาที่พืชสดใหม่ เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ ฯลฯ
ตั้งแต่การเพาะปลูกพืชตัดแต่งพันธุกรรมเชิงพาณิชย์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 พืชตัดแต่งพันธุกรรมที่ทนทานต่อยากำจัดวัชพืชกลูโซฟิเนทและไกลโฟเซท
และพันธุ์ที่สามารถผลิตพิษบีที ซึ่งเป็นสารกำจัดแมลง มียอดขายสูงและครองตลาด
ไม่นานมานี้ พืชตัดแต่งพันธุกรรมสายพันธุ์ใหม่มีทีท่าที่จะให้ผลกำไรกับลูกค้า
และวัตถุประสงค์ทางอุตสาหกรรมนั้นพร้อมแล้วที่จะเข้าสู่ตลาด
ในเมื่อพืชตัดแต่งพันธุกรรมเติบโตขึ้นมาในทุ่งเปิด
จึงจะพบปัญหาเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเชิงสภาพแวดล้อม ดังนั้น
ประเทศส่วนใหญ่จึงต้องให้นักศึกษาตรวจความปลอดภัยเชิงชีวภาพก่อนที่จะได้รับ
การอนุมัติพืชตัดแต่งพันธุกรรมสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งมักตามมาด้วยการตรวจดูเพื่อค้นหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะในทวีปยุโรป
ที่การอยู่ร่วมกันของพืชตัดแต่งพันธุกรรมและพืชธรรมดานั้นทำให้เกิดข้อกังวล มากมาย
เนื่องจากมีตัวบทกฎหมายเฉพาะตัวสำหรับพืชตัดแต่งพันธุกรรม
และความต้องการสูงของลูกค้าที่มีอิสระในการเลือกอาหารที่มีผลิตภัณฑ์ตัดแต่ง
พันธุกรรมหรือไม่
การชั่งตวงวัดนั้นมีความจำเป็นในการแยกแยะพืชตัดแต่งพันธุกรรมและพืช
อินทรีย์ทั่วไปและอาหารที่ได้มาครับ
ผลกระทบของดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ)
ความเสี่ยงต่อผู้บริโภค
ความกังวลในด้านเศรษฐกิจ-สังคม
ประโยชน์ของ GMO
เพิ่มเติ่มเกี่ยวกับ GMOs
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
References
1. นเรศ
ดำรงชัย, ผลกระทบของ GMOs ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย,
สิ่งที่ประชาชนควรทราบ, โครงการศึกษานโยบายด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC), พิมพ์ครั้งที่
2 มีนาคม 2543, 14 หน้า
2. . ดร.
บรรพต ณ ป้อมเพชร สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ). ใน; ทัศนีย์ อนมาน บรรณาธิการ. ชีวปริทรรศน์ ปีที่ 4 ฉบับที่
1 เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ.2545 หน้า
8-9.
3.
http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/gmos/
References
เป็นความรู้ที่ดีจริง ๆ ค้ะ
ตอบลบปรับรูปแบบให้น่าสนใจหน่อยค่ะ
ตอบลบ@Punika Sonthichauy ขอบคุณมากนะครับ
ตอบลบ@ครูกุ้ง ขอบคุณครับแล้วผมจะทำตามที่อาจารย์บอก
ตอบลบได้ความรู้มากเลยครับ ....
ตอบลบรูปแบบดีแล้ว .. ปรับแต่งอีกนิด แจ่ม เลย
สวยดี
ตอบลบสวยดี
ตอบลบเนื้อหาดีมากค้ะ :)
ตอบลบรูปเเบบเเละเนื้อหาดีมากค่ะ
ตอบลบเป็นเนื้อหาที่ดีมากค้ะ
ตอบลบแบบนี้มันศาสตราจารย์ชัดๆๆ
ตอบลบมีความรู้มากเลยครับ ขอบคุณครับ
ตอบลบขอบคุณที่ให้ความรู้ใหม่ๆค่ะ รูปภาพก็สวยนะคะ
ตอบลบน่าสนใจมากเลย
ตอบลบมีประโยชน์มากค่ะ เป็นความรู้ที่ดีมากๆ เราควรจะศึกษาไว้
ตอบลบก็ดีอะนะ
ตอบลบเรื่องใกล้ตัวดีค่ะ น่าศึกษา
ตอบลบได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยย ^^
ตอบลบเนื้อหาๆ ก้โอยุน่ะ ตัวอักษรประชดคัยรึป่าว ?
ตอบลบเนื้อหาดี ตัวอักษรใหญ่อ่านง่าย :D
ตอบลบอักษร ใหญ่ได้ใจ มากๆคับ !
ตอบลบดีที่สุดค่ะ
ตอบลบดีมากคับ
ตอบลบโดนๆ
ตอบลบเนื้อหาน่าสนใจมากเลยค่ะ
ตอบลบเก่งว่ะทำสวยมากๆ เนื้อหาก็ดี ตัวอักษรชัดเจนมากๆ
ตอบลบเนื้อหาดีมีสาระคร๊าบ! ภาพรวมค่อนข้างดี
ตอบลบให้เครดิตของเว็ปทีมาสรุปด้วย! เยียมมากคร๊าบ
ตอบลบเนื้อหาน่าสนใจมากค่ะ เข้าใจดี
ตอบลบเนื้อหาดีน่าสนใจ แปลกใหม่ รูปแบบสวยอ่านเข้าใจง่าย
ตอบลบเนื้อหาดีคับ ได้ใจความดี
ตอบลบเนื้อหาอ่านง่ายดีคะ = =
ตอบลบเนื้อหาดีมากเลยครับ
ตอบลบffxiv titanium nugget - TipiNudget.com
ตอบลบTipiNudget.com is titanium ore a tipster network that remmington titanium gives betting tips and tips 먹튀 on horse titanium watch band racing, eSports, and titanium pipe more.